วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้วิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร

การเรียนวิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร นอกจากจะทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้ในเนื้อหาวิชาซึ่งได้สรุปเป็นผลการเรียนรู้ในแต่ละสัปดาห์แล้ว ยังทำให้ข้าพเจ้า
1. มีความรู้ความเข้าใจว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทในทุกสาขาอาชีพ ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ในด้านการศึกษาช่วยพัฒนาการเรียนการสอนให้มีความทันสมัยมากขึ้น เช่น ระบบ E-Learning,ห้องสมุดเสมือน,คอมพิวเตอร์ช่วยสอน,การศึกษาทางไกล,การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอร์เรนส์ ,M-Learningและโมบายเลิร์นนิ่ง ซึ่งเดิมรู้จักชื่อ แต่มีความรู้เพียงผิวเผินในระบบดังกล่าว การเรียนวิชานี้ทำให้ข้าพเจ้ามีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศที่ช่วยสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาดังกล่าวดียิ่งขึ้น ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงโลกยุคไอที สามารถพูดคุยและโต้ตอบกับผู้อื่นได้ อีกทั้งยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้
2. มีเจตคติที่ดีและเห็นความสำคัญเทคโนโลยีสารสนเทศมากขึ้น เพราะมีประโยชน์นานัปการ เดิมข้าพเจ้าจะใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เฉพาะการทำงานในหน้าที่ คือ การพิมพ์งานได้ ไม่ค่อยใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ตมากนัก และไม่ค่อยกระตือรือร้นกับการปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี เมื่อมาเรียนวิชานี้ทำให้ข้าพเจ้ารับ-ส่งข้อมูลผ่านทาง e-mail และ gmail , การสร้าง webblog , และค้นคว้าหาข้อมูลผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมากขึ้น มีความสนใจที่จะก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ต่อตนเองทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการเรียนต่อไป
3. ได้สัมผัสและมีทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นคว้าหาข้อมูลงานวิจัย/ภาคนิพนธ์/วิทยานิพนธ์ การติดต่อสื่อสารระหว่างอาจารย์กับนักศึกษาผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตซึ่งมีความแตกต่างจากวิชาอื่นๆ ที่สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลาและประหยัดค่าใช้จ่าย
4.ทำให้ข้าพเจ้าซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีความตระหนักในจริยธรรม/จรรยาบรรณในการใช้มากขึ้นเพราะการใช้ไปในทางที่ผิดและมุ่งประโยชน์ทางการค้าจะมีบทลงโทษตามพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2544และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 แล้วแต่กรณี
นอกจากนั้นถึงแม้ว่าข้าพเจ้าจะไม่ได้อยู่ในสายงานการสอน ได้เห็นเทคนิค/กระบวนการเรียนการสอนของอาจารย์ที่หลากหลาย แปลกใหม่ ซึ่งน่าสนใจ ก็จะนำไปปรับใช้ในการจัดโครงการฝึกอบรมต่าง ๆ ที่ทางเทศบาลจัดขึ้น ให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม ฝึกการทำงานเป็นทีม/กลุ่ม โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กไปกลุ่มใหญ่

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2 และ 3

(วันเสาร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2552)

ได้ทดลองปฏิบัติใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เรียนรู้การสมัคร gmail, การสร้าง blog, การเขียนบทความลง blog, การเข้าระบบบริหารการศึกษา,การสืบค้นสารสนเทศโดยใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต,การแบ่งกลุ่มกิจกรรมทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดนวัตกรรมทางความคิด ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐ
และเอกชน:ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทช่วยในด้านการวางแผนงาน ด้านการตัดสินใจของผู้บริหารและด้านการดำเนินงานขององค์กร โดยผู้บริหารจะต้องเลือกใช้ระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับองค์กร จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1.ระบบประมวลผลรายการ(TPS) เป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานขององค์กรเป็นขั้นตอน
เบื้องต้นในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานประจำวัน เกิดขึ้นในระดับผู้ปฏิบัติการ
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) เป็นระบบฐานข้อมูลร่วมที่เชื่อมโยงข้อมูล
จาก TPS แล้วจัดทำเป็นรายงานสรุป ช่วยสนับสนุนการวางแผน การดำเนินงานและการตัดสินใจ เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับกลาง
3.ระบบสารสนเทศสำนักงาน(CIS) เป็นระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล
การผลิตเอกสาร การติดต่อประสานงานภายในองค์กร
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่โต้ตอบได้อาศัยสาร
สนเทศจาก TPSและ MIS มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเหมาะกับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
5.ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง(ESS)เป็นระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง
ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นสารสนเทศภายในและภายนอกองค์กร

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและ

เทคโนโลยีสมัยใหม่
ด้านสังคม :แง่บวก ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต การแพทย์ การศึกษาและการทำงาน
แง่ลบ เกิดความขัดแย้งทางแนวคิด ปัญหาการว่างงานและอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ด้านการเมือง :ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์
โทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีสมัยใหม่:ในยุคปัจจุบันองค์กรเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้
(ภูมิปัญญา+องค์ความรู้)เพื่อพัฒนาสู่สังคมแห่งความรู้โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือพัฒนาองค์ความรู้ ตั้งแต่การค้นหา จัดเก็บ วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการความรู้ของมนุษย์และเพื่อความอยู่รอดขององค์กรจะต้องมีกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยการวิเคราะห์กลยุทธ์ ใช้กระบวนการวิเคราะห์ SWOT สภาพแวดล้อมภายใน(จุดแข็ง-จุดอ่อน) สภาพแวดล้อมภายนอก(โอกาส-อุปสรรค)เพื่อนำมาจัดทำแผนกลยุทธ์แล้วจึงนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยใช้ Balanced Scorecard และ Benchmarking ตรวจสอบผลการดำเนินงาน จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่ก็มีข้อโต้แย้งจากนักวิชาการว่ามีผลกระทบ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องบริหารจัดการให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่ประยุกต์ในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำความคิด การกระทำ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ มาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจและช่วยประหยัดเวลาในการเรียน
นวัตกรรมการศึกษา มีดังนี้ นวัตกรรมด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการสอน ด้านการประเมินผลและด้านการบริหารจัดการ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา:แนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลความพร้อมของบุคคล การใช้เวลาเพื่อการศึกษาและประสิทธิภาพในการเรียน
องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา คือ โครงสร้างองค์กร บุคลากร กระบวนการ กลยุทธ์และยุทธวิธี เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา คือ บุคคลต้องเก่ง มีทีมงานเยี่ยมและองค์กรเลิศ
แนวโน้มของการสร้างและใช้นวัตกรรมทางการศึกษาจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนโดยสร้างแนวคิด สติปัญญา การบริหารโดยจัดโครงสร้าง ออกแบบองค์กรให้สอดคล้องกับพัฒนาการของนวัตกรรม ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ มีกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์และรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อก้าวทันการแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญ ได้แก่
1.การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์(WBI)เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ หรือเรียกว่าห้องเรียนเสมือนจริง
2.บทเรียนออนไลน์(e-Learning)เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม การเรียนการสอนบนเว็บ(WBL)การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
3.โมบายเลิร์นนิ่ง เป็นการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย(m-Learning) เช่น โทรศัพท์มือถือ ในประเทศไทยมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้นำระบบ (m-Learning) มาใช้ในการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ
4.สวนดุสิตอินเตอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง (SDIB) เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบสถานีโทรทัศน์ ถ่ายทอดภาพและเสียง ออกอากาศ 4 ช่องสถานี
5.ห้องสมุดเสมือน(Virtual Library) เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ในการเรียน การจัดทำงานวิจัย ภาคนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ : การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้เขียน : นายเพลน กรองทอง
ชื่อปริญญา : ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา : เทคโนโลยีการศึกษา
ปีการศึกษา : 2542
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ :
1. รองศาสตราจารย์ สมคิด ธีรศิลป์ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ศุภชัย ตันศิริ
3. รองศาสตราจารย์ ดร. บุญมี พันธุ์ไทย

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพ
การ์ตูนเคลื่อนไหวโดยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนกับหลังการเรียนและศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนโดยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษเรื่องคำบุพบท ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ จากหนังสือ STEP OUT ซึ่งเป็นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ศึกษาเป็นประชากรจากโรงเรียนประชานิเวศน์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2542จำนวน 180 คน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน วิธีทดลองเป็นแบบ Randomized Control – Group Pretest–Posttest Design ข้อมูลวิเคราะห์โดยสถิติ t-test

ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว
วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องคำบุพบท มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง คำบุพบท ที่สร้างขึ้นสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษเรื่องคำบุพบท อยู่ในระดับดีมาก

เอกสารอ้างอิง

เพลน กรองทอง. (2542). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพ
การ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1. ทราบแหล่งค้นคว้า/สืบค้นงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมถึงภาคนิพนธ์ บทความวารสารต่างๆ ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ต่างๆ เช่น
www.google.co.th , บริการฐานข้อมูลออนไลน์ (ฐานข้อมูล TDC (ThaiLIS) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ได้รวบรวมในรูปแบบฉบับเต็ม Full-Text ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ
2. ทราบเค้าโครง/รูปแบบงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ว่ามีบทคัดย่อ (Abstract) เป็นส่วนประกอบนำเรื่องที่สำคัญเป็นส่วนสรุปงานวิจัยที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์
วิธีวิจัย ผลของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบหลายๆ งานวิจัยพบว่าบทคัดย่อมีความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ ซึ่งจะเป็นแนวทาง/ประโยชน์ในการทำวิจัยของนักศึกษาต่อไป
3. การทำงานวิจัย วิทยานิพนธ์ จะต้องกำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่อง กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมายข้อมูลออกมาโดยสถิติ ที่เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลจากงานวิจัยนั้น ๆ
4. หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิง ซึ่งเป็นส่วนประกอบท้ายเรื่องของงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
4.1 ชื่อผู้แต่ง
4.2 ปีที่พิมพ์
4.3 ชื่อเรื่อง
4.4 ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์
ตามลำดับ
5. การใช้นวัตกรรมทางการศึกษาช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียน และเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

วันเสาร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1

วิชา 1061601 วิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร
ผู้สอน อาจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์
3.1 สรุปความรู้ที่ได้รับจากการเรียน ในวันอาทิตย์ที่ 31 พฤษภาคม 2552
ภาคเช้า : ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ

ข้อมูลและสารสนเทศมีความสัมพันธ์กันดังนี้ ข้อมูลเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของ หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ ภาพหรือเสียงที่ยังใช้ประโยชน์ไม่ได้ นำมาผ่านกระบวนการประเมินผลให้เป็นสารสนเทศ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานขององค์กร ด้านการวางแผน การตัดสินใจและการดำเนินงาน ซึ่งในปัจจุบันจะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) คือ เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ และเทคโนโลยีการสื่อสารโทรคมนาคม ทำหน้าที่จัดเตรียมระบบสารสนเทศ ตั้งแต่ขั้นตอนการรับข้อมูลเข้า(Input) การประมวลผล(Processing) และการส่งออก (Output) เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานการผลิตสินค้าและบริการ สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
คุณสมบัติของข้อมูล/สารสนเทศที่ดี
1. มีความถูกต้องเชื่อถือได้
2. สามารถตรวจสอบได้
3. ทันสมัย
4. ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
5. มีความยืดหยุ่น
6. มีความสมบูรณ์ในตัวเอง
7. กะทัดรัด(มีเฉพาะสาระสำคัญ)
8. ใช้งานง่าย
9. ประหยัด
10. สามารถเผยแพร่ได้
โครงสร้างของระบบสารสนเทศมีลักษณะคล้ายรูปปิรามิด 4 ระดับ ซึ่งแต่ละระดับจะมีความแตกต่างกันในด้านการใช้สารสนเทศ ดังนี้
ระดับที่ 1 สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผล ระดับนี้มีฐานกว้างและแคบ แสดงให้เห็นว่าผู้ใช้ต้องการสารสนเทศที่ละเอียด เป็นการจัดเตรียมสารสนเทศเบื้องต้นเพื่อจัดทำรายงานให้ระดับสูง
ระดับที่ 2 สารสนเทศสำหรับวางแผนการปฏิบัติงาน เป็นสารสนเทศที่ละเอียดที่ผู้บริหารระดับต้นจะใช้เพื่อพัฒนางาน สนับสนุนการดำเนินงานประจำวัน(วางแผน ดำเนินงาน ตัดสินใจ) และควบคุมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพ
ระดับที่ 3 สารสนเทศสำหรับวางแผนยุทธวิธี เป็นสารสนเทศที่สรุป ที่ผู้บริหารระดับกลางนำไปใช้เพื่อตัดสินใจและวางแผนระยะสั้น
ระดับที่ 4 สารสนเทศสำหรับการวางแผนกลยุทธ์ เป็นสารสนเทศที่สรุปและมีความชัดเจนที่ผู้บริหารระดับสูงใช้สำหรับวิเคราะห์แนวโน้ม ตัดสินใจและวางแผนระยะยาว
โครงสร้างของระบบสารสนเทศแบ่งตามกิจกรรมก็จะมีลักษณะคล้ายรูปปิรามิดเหมือนกัน องค์กรที่มีกิจกรรมการทำงานต่างกันก็จะมีความต้องการสารสนเทศที่ต่างกัน ระดับล่างจะมีกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย ระดับสูงการปฏิบัติกิจกรรมเป็นลักษณะการวางแผนและบริหารงานทั้งองค์กร โดยนำสารสนเทศจากระบบงานย่อยๆ ในระดับล่างมาช่วยตัดสินใจ โดยมีฐานข้อมูลเป็นตัวกลางเชื่อมโยงระบบงานย่อย ๆ ซึ่งแบ่งสารสนเทศตามกิจกรรมของหน่วยงานได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลรายการ
2. สารสนเทศเพื่อการดำเนินการ
3. สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจ
การไหลเวียนของสารสนเทศเป็นการนำสารสนเทศที่ไหลเวียนอยู่ในระบบเชื่อมต่อไปยังหน่วยงานระดับต่าง ๆ ทั้งแนวดิ่ง ทุกระดับในองค์กร และแนวระดับจากระบบงานย่อย ยกเว้น ระดับ 1 สารสนเทศจะไหลเวียนแนวเดียวคือแนวดิ่ง มีประโยชน์เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายขององค์กร
สารสนเทศถือเป็นทรัพยากรหนึ่งที่สำคัญขององค์กร มีความจำเป็น/ประโยชน์ต่อการบริหารงานด้านการวางแผน การดำเนินงานและการตัดสินใจ ดังนั้นต้องมีการจัดการอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์กร

ภาคบ่าย 1. ได้ปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การสมัครและจัดส่งอีเมล์
2. ได้ความรู้ภาคทฤษฎีเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศต่อการพัฒนาการศึกษา ซึ่งสรุปได้ดังนี้

ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศด้านคอมพิวเตอร์ และการสื่อสารได้ถูกนำมาใช้ในการจัดการศึกษา ทำให้การเรียนการสอนมีความทันสมัยมากขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิตได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ 3 ด้าน คือ
1. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร สำหรับผู้บริหารใช้ตัดสินใจ
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา ช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษา
3. เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการศึกษา เป็นเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารด้วยตนเอง โดยมีห้องสมุดเสมือน เป็นแหล่งรวมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ที่ให้บริการสืบค้นฐานข้อมูลออนไลน์
บริการฐานข้อมูลออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต แบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-JOURNAL) ประกอบด้วย ฐานข้อมูล ProQuest ,
ACM Digital library (ThaiLIS) , Eric , EBSCO Host , Emerald Insight , H.W.Wilson (ThaiLIS) , IEEE Computer , IEEE/IEE (ThaiLIS) , J-Gate , Science Direct , Sprinker Link e-Journal ,
ISI Web of Science
2. วิทยานิพนธ์ ภาคนิพนธ์ งานวิจัยและบทคัดย่อ ประกอบด้วยฐานข้อมูล TDC (ThaiLIS) , Dissertations Full Text (ThaiLIS)
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) ประกอบด้วย ฐานข้อมูล Ebrary : e-Books ,
Sprinker Link e-Book , Net Library (ThaiLis)
นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ระยะ พ.ศ. 2544-2553 ได้กำหนดเป้าหมายและยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการศึกษา เพื่อสร้างความพร้อมของทรัพยากรมนุษย์เพื่อช่วยกันพัฒนาให้เกิดสังคมแห่งภูมิปัญญา และการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ และกระทรวงศึกษาธิการได้จัดทำแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปี พ.ศ. 2550-2554 กำหนดวิสัยทัศน์ ให้ผู้เรียน ผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาและประชาชนใช้ประโยชน์จาก ICT ในการเข้าถึงบริการทางการศึกษา ได้เต็มศักยภาพ อย่างมีจริยธรรม มีสมรรถนะทาง ICT ตามมาตรฐานสากล กำหนดพันธกิจและยุทธศาสตร์เพื่อยกระดับมาตรฐานการเรียนรู้โดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการให้บริการทางการศึกษา และผลิตและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรบุคคล ด้าน ICT
ผู้บริหารการศึกษาซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายและทิศทางการศึกษาจะต้องเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารต้องพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำมาช่วยในการจัดการศึกษา และต้องส่งเสริมให้นำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา

3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (Internet) ต่อกระบวนการจัดการศึกษา
การจัดการศึกษารูปแบบเดิมจะจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน มีครูทำหน้าที่สอนอยู่หน้าชั้นเรียน โดยใช้สื่อประกอบการสอน นักเรียนต้องเข้าเรียน การจัดการศึกษาถึงจะเกิดขึ้น ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้มีระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต การติดต่อสื่อสาร การสืบค้นข้อมูลและแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ สะดวก รวดเร็ว กว้างขวางและทั่วถึงมากขึ้น ผู้เรียนสามารถศึกษาหาความรู้/เรียนรู้ได้ด้วยตนเองตลอดเวลาตามความสนใจและความถนัด สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล และช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการศึกษาทั้งในระบบ นอกระบบ และการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย เช่น การศึกษาทางไกล (Distance Learning) การเรียนการสอนผ่านระบบวีดีโอ คอนเฟอร์เรนส์ (Video Conference) ระบบการเรียนแบบออนไลน์ (e-Learning) ระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer-Aided-Instruction : CAI) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)

3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ตเมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ข้อดีของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
1. ไม่จำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมที่เครื่อง
2. สามารถใช้งานได้ทุกที่ ทุกเวลาทั่วโลกผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
3. มีโปรแกรมหลากหลาย

ข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
1. มีความเสี่ยงของข้อมูลสูง (ปลอดภัยน้อย)
2. ประสิทธิภาพของโปรแกรมด้อยกว่า

ข้อดีของการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
1. มีความเสี่ยงของข้อมูลน้อย (ปลอดภัยสูง)
2. ประสิทธิภาพของโปรแกรมดีกว่า
3. การใช้งานง่ายและเร็วกว่าเพราะติดตั้งบนเครื่องของตนเอง

ข้อเสียของการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
1. ต้องติดตั้งโปรแกรมที่เครื่อง ทุกเครื่องเมื่อต้องการใช้งาน
2. ใช้งานได้เฉพาะเครื่องนั้น ๆ
3. เสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งโปรแกรม

ภาพประทับใจ


ประทับใจภาพนี้ เพราะเป็นภาพที่ไม่ธรรมดาสำหรับนักวิชาการศึกษา รุ่น 17 ที่หาดูได้ยาก ถ้ามองสังเกตให้ดี ด้านหลังสุดจะมีผู้ชายยกแขนขึ้นมาร่วมถ่ายรูปด้วย ซึ่งก็คืออาจารย์เจ้าหน้าที่โครงการที่ดูแลรับผิดชอบ ประสานงานการจัดฝึกอบรมหลักสูตรนักวิชาการศึกษา รุ่นที่ 17นั่นเอง ดูบุคลิกภายนอกของ อาจารย์จะนิ่ง ๆ ไม่ค่อยพูด จึงไม่คิดว่าอาจารย์จะแสดงท่าทางที่เห็นในรูป และที่สำคัญทุกคนที่อยู่ในภาพไม่มีใครรู้มาก่อน จนกระทั่งมากดดูภาพในกล้อง เพื่อน ๆ ต่างก็มองหน้ากันอย่างประหลาดใจ แล้วก็หันไปมองอาจารย์ อาจารย์ก็แสดงสีหน้า และท่าทางปกติอย่างเช่นทุกวัน เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น ...คงเป็นภาพที่หาดูที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว...



ประทับใจภาพนี้ เพราะเป็นภาพที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสถ่ายรูปร่วมกับท่านอาจารย์ และเพื่อนนักวิชาการศึกษารุ่นที่ 17 ทั้ง 68 คน โดยพร้อมเพรียงกัน ทุกคนในภาพมาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลากหลายจังหวัดทั่วประเทศ ต่างเพศ ต่างวัย มาพบกัน มารู้จักกันเพราะมีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือมาเข้ารับการอบรมหลักสูตรนักวิชาการศึกษา รุ่นที่ 17 ระหว่างวันที่ 3-28 พฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา ภาพนี้เป็นวันสุดท้ายของการอบรม เป็นวันที่พวกเราทุกคนภาคภูมิใจเรียนจบหลักสูตรได้รับใบประกาศนียบัตร และเป็นวันที่พวกเราต้องจากกัน เมื่อเห็นภาพนี้ทำให้ข้าพเจ้าคิดถึงบรรยากาศเก่าๆที่เคยร่วมเรียน ร่วมเล่น ร่วมทำกิจกรรม ทั้งสนุก สุข เครียด ถ้าหมุนเวลาได้อยากย้อนเวลากลับไปหาเพื่อน ๆ และท่านอาจารย์ทุกคน ....ถึงแม้จะเป็นเพียงช่วงระยะเวลาสั้น ๆ 4 สัปดาห์ที่ได้อยู่ด้วยกัน.... ....ถึงแม้วันเวลาจะผ่านไปแต่ความทรงจำที่ดียังอยู่ในใจเสมอ....


ประวัติ


ชื่อ-นามสกุล นางสาวระพีพรรณ โต๊ะเมือง

ชื่อเล่น ผึ้ง

เกิดวันที่ 19 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2523

ตำแหน่ง นักวิชาการศึกษา ระดับ 4 สังกัดเทศบาลตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

การศึกษา ปริญญาตรี ศึกษาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเอกสุขศึกษา จากมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน

ที่อยู่ เลขที่ 29 หมู่ที่ 1 ตำบลวัดแก้ว อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี 70160