วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ผลการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2 และ 3

(วันเสาร์ที่ 13 และวันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน 2552)

ได้ทดลองปฏิบัติใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เรียนรู้การสมัคร gmail, การสร้าง blog, การเขียนบทความลง blog, การเข้าระบบบริหารการศึกษา,การสืบค้นสารสนเทศโดยใช้บริการฐานข้อมูลออนไลน์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต,การแบ่งกลุ่มกิจกรรมทำงานเป็นทีม ทำให้เกิดนวัตกรรมทางความคิด ช่วยให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
บทที่ 3 การบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อตอบสนองความต้องการภาครัฐ
และเอกชน:ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามามีบทบาทช่วยในด้านการวางแผนงาน ด้านการตัดสินใจของผู้บริหารและด้านการดำเนินงานขององค์กร โดยผู้บริหารจะต้องเลือกใช้ระบบสารสนเทศให้เหมาะสมกับองค์กร จึงจะสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน
ระบบสารสนเทศสำหรับองค์กร
1.ระบบประมวลผลรายการ(TPS) เป็นระบบสารสนเทศพื้นฐานขององค์กรเป็นขั้นตอน
เบื้องต้นในการทำหน้าที่ผลิตสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานประจำวัน เกิดขึ้นในระดับผู้ปฏิบัติการ
2.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ(MIS) เป็นระบบฐานข้อมูลร่วมที่เชื่อมโยงข้อมูล
จาก TPS แล้วจัดทำเป็นรายงานสรุป ช่วยสนับสนุนการวางแผน การดำเนินงานและการตัดสินใจ เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับกลาง
3.ระบบสารสนเทศสำนักงาน(CIS) เป็นระบบสารสนเทศเกี่ยวกับการบันทึกข้อมูล
การผลิตเอกสาร การติดต่อประสานงานภายในองค์กร
4.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ(DSS) เป็นระบบสารสนเทศที่โต้ตอบได้อาศัยสาร
สนเทศจาก TPSและ MIS มาช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเหมาะกับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
5.ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง(ESS)เป็นระบบสารสนเทศของผู้บริหารระดับสูง
ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ การวางแผนกลยุทธ์และแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เป็นสารสนเทศภายในและภายนอกองค์กร

บทที่ 4 เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคม การเมืองและ

เทคโนโลยีสมัยใหม่
ด้านสังคม :แง่บวก ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต การแพทย์ การศึกษาและการทำงาน
แง่ลบ เกิดความขัดแย้งทางแนวคิด ปัญหาการว่างงานและอาชญากรรมคอมพิวเตอร์
ด้านการเมือง :ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนผ่านทางสื่อต่างๆ เช่น เว็บไซต์
โทรศัพท์มือถือ
เทคโนโลยีสมัยใหม่:ในยุคปัจจุบันองค์กรเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีความรู้
(ภูมิปัญญา+องค์ความรู้)เพื่อพัฒนาสู่สังคมแห่งความรู้โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาเป็นเครื่องมือพัฒนาองค์ความรู้ ตั้งแต่การค้นหา จัดเก็บ วิเคราะห์ แลกเปลี่ยน นำความรู้ไปใช้เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันแต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถในการจัดการความรู้ของมนุษย์และเพื่อความอยู่รอดขององค์กรจะต้องมีกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์โดยการวิเคราะห์กลยุทธ์ ใช้กระบวนการวิเคราะห์ SWOT สภาพแวดล้อมภายใน(จุดแข็ง-จุดอ่อน) สภาพแวดล้อมภายนอก(โอกาส-อุปสรรค)เพื่อนำมาจัดทำแผนกลยุทธ์แล้วจึงนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ โดยใช้ Balanced Scorecard และ Benchmarking ตรวจสอบผลการดำเนินงาน จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่ก็มีข้อโต้แย้งจากนักวิชาการว่ามีผลกระทบ ดังนั้นผู้บริหารจะต้องบริหารจัดการให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีสมัยใหม่ประยุกต์ในการทำงานให้เกิดประโยชน์สูงสุด

บทที่ 5 ความรู้พื้นฐานของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา หมายถึง การนำความคิด การกระทำ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ มาใช้เพื่อเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิม เพื่อให้การจัดการศึกษามีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจและช่วยประหยัดเวลาในการเรียน
นวัตกรรมการศึกษา มีดังนี้ นวัตกรรมด้านหลักสูตร ด้านการเรียนการสอน ด้านสื่อการสอน ด้านการประเมินผลและด้านการบริหารจัดการ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษา:แนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาด้านความแตกต่างระหว่างบุคคลความพร้อมของบุคคล การใช้เวลาเพื่อการศึกษาและประสิทธิภาพในการเรียน
องค์ประกอบของการจัดการนวัตกรรมทางการศึกษา คือ โครงสร้างองค์กร บุคลากร กระบวนการ กลยุทธ์และยุทธวิธี เครื่องมือและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ปัจจัยที่มีผลต่อการสร้างนวัตกรรมทางการศึกษา คือ บุคคลต้องเก่ง มีทีมงานเยี่ยมและองค์กรเลิศ
แนวโน้มของการสร้างและใช้นวัตกรรมทางการศึกษาจะต้องเริ่มจากการพัฒนาคนโดยสร้างแนวคิด สติปัญญา การบริหารโดยจัดโครงสร้าง ออกแบบองค์กรให้สอดคล้องกับพัฒนาการของนวัตกรรม ผู้บริหารต้องมีวิสัยทัศน์ มีกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์และรู้จักใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการนวัตกรรมเพื่อก้าวทันการแข่งขันในโลกยุคโลกาภิวัฒน์

บทที่ 6 การประยุกต์ใช้นวัตกรรมทางการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญ ได้แก่
1.การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์(WBI)เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ผู้เรียนและผู้สอนสามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ หรือเรียกว่าห้องเรียนเสมือนจริง
2.บทเรียนออนไลน์(e-Learning)เป็นการศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยถ่ายทอดเนื้อหาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยซีดีรอม การเรียนการสอนบนเว็บ(WBL)การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม
3.โมบายเลิร์นนิ่ง เป็นการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีสื่อสารแบบไร้สาย(m-Learning) เช่น โทรศัพท์มือถือ ในประเทศไทยมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้นำระบบ (m-Learning) มาใช้ในการเรียนการสอนผ่านโทรศัพท์มือถือ
4.สวนดุสิตอินเตอร์เน็ตบรอดคาสติ้ง (SDIB) เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบสถานีโทรทัศน์ ถ่ายทอดภาพและเสียง ออกอากาศ 4 ช่องสถานี
5.ห้องสมุดเสมือน(Virtual Library) เป็นแหล่งรวบรวมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ใช้สามารถสืบค้นสารสนเทศแบบออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์ในการเรียน การจัดทำงานวิจัย ภาคนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น