วันอาทิตย์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2552

นวัตกรรมทางการศึกษา

บทคัดย่อ

ชื่อเรื่องวิทยานิพนธ์ : การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้เขียน : นายเพลน กรองทอง
ชื่อปริญญา : ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชา : เทคโนโลยีการศึกษา
ปีการศึกษา : 2542
คณะกรรมการที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ :
1. รองศาสตราจารย์ สมคิด ธีรศิลป์ ประธานกรรมการ
2. อาจารย์ ศุภชัย ตันศิริ
3. รองศาสตราจารย์ ดร. บุญมี พันธุ์ไทย

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพ
การ์ตูนเคลื่อนไหวโดยมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนกับหลังการเรียนและศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนโดยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษเรื่องคำบุพบท ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ จากหนังสือ STEP OUT ซึ่งเป็นการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ศึกษาเป็นประชากรจากโรงเรียนประชานิเวศน์ สังกัดกรุงเทพมหานคร ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1ปีการศึกษา 2542จำนวน 180 คน และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 45 คน วิธีทดลองเป็นแบบ Randomized Control – Group Pretest–Posttest Design ข้อมูลวิเคราะห์โดยสถิติ t-test

ผลการวิจัยปรากฏว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว
วิชาภาษาอังกฤษ เรื่องคำบุพบท มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง คำบุพบท ที่สร้างขึ้นสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความคิดเห็นของนักเรียนที่เรียนต่อบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพการ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษเรื่องคำบุพบท อยู่ในระดับดีมาก

เอกสารอ้างอิง

เพลน กรองทอง. (2542). การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนด้วยภาพ
การ์ตูนเคลื่อนไหววิชาภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5.
กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สิ่งที่ได้เรียนรู้
1. ทราบแหล่งค้นคว้า/สืบค้นงานวิจัย วิทยานิพนธ์ รวมถึงภาคนิพนธ์ บทความวารสารต่างๆ ผ่านทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เว็บไซด์ต่างๆ เช่น
www.google.co.th , บริการฐานข้อมูลออนไลน์ (ฐานข้อมูล TDC (ThaiLIS) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ที่ได้รวบรวมในรูปแบบฉบับเต็ม Full-Text ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ
2. ทราบเค้าโครง/รูปแบบงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ว่ามีบทคัดย่อ (Abstract) เป็นส่วนประกอบนำเรื่องที่สำคัญเป็นส่วนสรุปงานวิจัยที่กล่าวถึงวัตถุประสงค์
วิธีวิจัย ผลของการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัย เมื่อเปรียบเทียบหลายๆ งานวิจัยพบว่าบทคัดย่อมีความยาวประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ ซึ่งจะเป็นแนวทาง/ประโยชน์ในการทำวิจัยของนักศึกษาต่อไป
3. การทำงานวิจัย วิทยานิพนธ์ จะต้องกำหนดหัวข้อหรือชื่อเรื่อง กำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล แปลความหมายข้อมูลออกมาโดยสถิติ ที่เหมาะสมกับลักษณะของข้อมูลจากงานวิจัยนั้น ๆ
4. หลักเกณฑ์การเขียนเอกสารอ้างอิง ซึ่งเป็นส่วนประกอบท้ายเรื่องของงานวิจัย วิทยานิพนธ์ ประกอบด้วย
4.1 ชื่อผู้แต่ง
4.2 ปีที่พิมพ์
4.3 ชื่อเรื่อง
4.4 ข้อมูลเกี่ยวกับการพิมพ์
ตามลำดับ
5. การใช้นวัตกรรมทางการศึกษาช่วยกระตุ้นให้เด็กเกิดแรงจูงใจในการเรียน และเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น